Wednesday, July 10, 2013

การรับลูกเสิร์ฟ ที่ควรปฏิบัติ ในประเภทคู่

อาจจะเป็นประโยชน์เลยนำมาฝาก
การรับลูกเสิร์ฟในประเภทคู่ มีหลักที่นักแบดมินตันควรถือปฏิบัติดังนี้
1. ยืนเตรียมพร้อมและหมั่นสังเกตคู่ต่อสู้ คิดวางแผนตอบโต้ ท่ายืนควรย่อตัวเล็กน้อย ทิ้งน้ำหนักที่ปลายเท้า ชูไม้แบดมินตันให้สูงไว้ ตำแหน่งที่ยืน ให้ชิดเส้นส่งลูกสั้น หรือห่างไม่เกิน 1-2 ฟุต
2.หมั่นฝึกหัดสังเกตว่าคู่ต่อสู้มักจะส่งลูกมาในทิศทางใด? ลักษณะใด? ตลอดจนส่งลูกได้ดีมีคุณภาพระดับใด?
3. พยายามเข้าไปตีโต้ตอบลูกเสิร์ฟในขณะที่ลูกแบดมินตันลอยตัวสูงสุด ก่อนที่ส่วนหัวของลูกแบดมินตัน จะปักลง เราสามารถจะตีโต้ตอบลูกเสิร์ฟในลักษณะลูกตบ-ลูกแย็บ-ลูกดาด-ลูกผลักครึ่ง สนาม
4. ถ้าคู่ต่อสู้เสิร์ฟสั้น เราควรชิงจังหวะเข้าตีลูกด้วยความรวดเร็ว เพื่อชิงเป็นฝ่ายรุกทันท่วงที
5. ถ้าคู่ต่อสู้เสิร์ฟยาว ให้ใช้เท้าที่จรดหน้าคอยถีบดันตัวเองออกหลัง เมื่อคู่ต่อสู้ส่งลูกมายังส่วนหลังของสนาม ส่วนมากจะตอบโต้ด้วยลูกตบเหนือศีรษะ(โอเวอร์เฮด) ที่รุนแรงกลับไป
6. เป้าหมายและทิศทางในการตีรับลูกเสิร์ฟ เพื่อชิงเป็นฝ่ายรุก ควรเลือกเป้าหมายวางลูกโต้ตอบไปที่ผู้เสิร์ฟเป็นเป้าหมายแรก จุดห่างตัวที่สุดของผู้เสิร์ฟและคู่ขาเป็นเป้าหมายลำดับถัดไป
7. ขณะที่เล่นหรือแข่งขัน หมั่นสังเกตตำแหน่งใดที่คู่ต่อสู้โต้ตอบมาไม่ได้ หรือโต้ตอบมาได้แต่ตกเป็ยฝ่ายรับ
8. หมั่นขยันฝึกซ้อม สังเกตจดจำชั้นเชิงเทคติกการรับลูกเสิร์ฟ จนเกิดทักษะและความชำนาญ
การรับลูกเสิร์ฟ มี 2 รูปแบบ
1. การรับลูกเสิร์ฟ และช่วงชิงเป็นฝ่ายรุกได้ เมื่อคู่ต่อสู้ตีโต้มาด้วยลูกที่ไม่สมบูรณ์แบบ ให้ตีโต้ตอบด้วยความเด็ดขาดรุนแรงเช่น การตะปบแย็บ การตบ หรือลูกดาดสวน
2. การรับลูกเสิร์ฟ แต่ไม่สามารถช่วงชิงเป็นรุกได้ ทำให้เราตกเป็นฝ่ายรับ ฝ่ายผู้รับลูกเสิร์ฟควรตีโตตอบกลับไปในพื้นที่และตำแหน่งที่ตนเองเสียเปรียบ น้อยที่สุด เช่นการแตะหยอดเลียดตาข่ายมากที่สุด ลูกผลักครึ่งสนาม ลูกงัดโด่งด้านท้ายสนาม หรือตีเชฟไปตามความเหมาะสม
ดังนั้นการตีรับลูกเสิร์ฟในการเล่นคู่มีความสำคัญยิ่ง เนื่องจากเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในการชิงเป็นฝ่ายรุกอย่างได้ผล หรือตกเป็นฝ่ายรับทันที

No comments:

Post a Comment