Friday, September 1, 2023

แบดมินตัน พื้นฐาน (Basic)


1. การจับไม้  ( V shape)



2.การตีลูก  โฟร์แฮนด์
ตำแหน่งที่หน้าไม้กระทบลูก จะต้องอยู่ด้านหน้าของผู้ตี
ประกอบไปด้วยความสำพันธ์ 3 ส่วน
1. แรงที่เกิดจาการถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหลัง ไปสู่เท้าหน้า
2. แรงที่เกิดจากการเหวี่ยงของลำแขน
3. แรงที่เกิดจากการตวัดและสบัดอย่างแรงของข้อมือ (สำคัญมาก)ในจังหวะกระทบลูก



สังเกตุการเหยียดแขนตึง และ จุดกระทบลูก 

3. การตีลูกหลังมือ ( Backhand)
การตีลูกหลังมือ จะมีแรงตีลูกที่มาจาก 2 แหล่งแรกเท่านั้น โดยไม่มีแรงโถมจากตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนน้ำหนักตัวที่ถ่วงจากเท้าหลังไป สู่เท้าหน้าเป็นแรงเสริม เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เล่นจะต้องใช้แรงตีลูกทั้ง 2 ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้
(การจับไม้แบบ วีเชฟ จะทำให้สามารถขยับหัวแม่มือ เข้ามาช่วยในการส่งแรงในการคตีลูกหลังมือได้ดี)

ลูก หลังมือ หรือแบ๊คแฮนด์ เป็นลูกที่จัดอยู่ในประเภทของการรับ (Defensive) ผู้เล่นหลาย ๆ คนอาจจะเลือกใช้ลูกคร่อมเหนือศีรษะ หรือ โอเวอร์เฮ็ด(Overhead)แทน เป็นลูกที่จัดอยู่ในประเภทรุก(Offensive) แต่การตีลูกคร่อมศีรษะนั้นกินแรงมากกว่าตีลูกหลังมือ 
 
4. การตีลูกโยนโด่ง

 แรงตีเกิดจาการประสานแรงเหวี่ยง  แรงสบัดของลำแขน  แรงตวัดของข้อมือ  บวกกับจัวหวะการถ่ายน้ำหนักจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้าและการฟุตเวิร์คที่ถูกต้อง  สอดคล้องเป็นจังหวะเดียวกัน

5. ลูกตบ

ความเร็วกับความรุนแรงของลูกตบไม่ได้เกิดจากการใช้แรงตีอย่างหักโหม  แต่ความเร็วและความแรงของลูกตบท่ี่หนักหน่วงเกิดมาจากจังหวะการประสานงานอย่างกลมกลืน  ของการฟุตเวิร์ค  การเหวี่ยงแขน  การตวัดของข้อมือ  เสริมด้วยการถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหลังสู่เท้าหน้า

6. ลูกดาด
คือลูกดาดที่พุ่งข้ามตาข่าย มีวิถีขนานไปกับพื้นสนาม ผู้เล่นตีลูกไนระดับอกได้ทั้งหน้ามือและหลังมือ ใช้ในการเล่นเกมลุกเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามได้โอกาสเล่นลูกตบได้  (และสามารถใช้ในเวลาตอบโต้ลูกตบได้เป็นอย่างดี)




7. จังหวะการฟุตเวิร์ค
ในการเล่นแบดมินตัน  มีการเคลื่อนย้ายตัวมากดังนั้นการฟุตเวิร์คจึงมีความสำคัญที่สุดในการเล่นแบดมินตัน ดังนั้นผู้เล่นจึงต้องรู้จักการเคลื่อนตัว  การวิ่งเข้าออก  (การวิ่งคอร์ด)

ถึงแม้การวิ่งคอร์ด จะสำคัญแต่ในเวลาเล่นแบดมินตัน  ต้องไม่ลืมพื้นฐานของการตีลูกในแต่ละลูก  และจะต้องทำให้สอดตล้องกันการวิ่งคอร์ด  จึงจะสามารถทำได้ดีเป็นธรรมชาติในเวลาอยู้ในสนาม


----------------------------------
เล่นแบดมินตัน  เป็นกีฬา  ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

Thursday, August 31, 2023

ขนาดสนาม แบดมินตัน

 ขนาดสนาม  แบดมินตัน
 ขนาดสนาม  แบดมินตัน


จุดตก



Wednesday, August 9, 2023

การวิ่งคอร์ด

วิ่งคอร์ด

 เริ่มจากการหัดวิ่งคอร์ด 6 จุด เล่นแรกๆ ผมไม่รู้หรอกว่าวิ่งคอร์ดคืออะไร
 วิ่งๆคอร์ดแรกๆมั่วไปหมดโดยเฉพาะการก้าวเท้าไปข้างหน้า จะออกซ้าย ออกขวามนมั่วไปเลย ยังกะปูแนะ เลยต้องถามเขาอีกแล้ว เขาก็ทำให้ดู อ๋อๆ......อืม...
 หลักมีอยู่ว่า 
วิ่งถอยหลังให้ใช้การสไลด์ ถ้าเดินหน้าให้ก้าวขา และขาข้างที่ถนัดจะเป็นแบบนี้ สไลด์ถอยหลังจะอยู่ในท่าเตรียมพร้อมตีเสมอคือ ไหล่ซ้ายจะที่ไปทางเนต ไหล่ขวาชี้ไปทางด้านหลัง การถือไม้ก็อยู่ในท่าเตรียมตีเช่นกัน ไม่ว่าจะถอยไปซ้าย กลาง ขวา ก็ยังอยู่ในท่าเดียวกันหมด หลังจากที่ตีลูกแล้ว สำคัญเท้าที่อยู่ข้างหลังจะก้าวมาข้างหน้าเสมอ อย่ากระโดดถอยหลังตี เพราะหลังจากที่ตีแล้วเราจะกลับมาตั้งหลักไม่ทัน จริงๆนะ ตรงนี้ละการวิ่งคอร์ดสำคัญมาก ถ้ารู้จักการก้าวเท้าแล้ว จะช่วยได้มาก ตีลูกสูงๆให้มีเวลากลับไปตั้งหลักครับ 
สำหรับการรับลูกหน้าเนต มันมีแบบสไลด์และก้าวขานะ ครั้งแรกผมจะก้าวขาก่อนประมาณ 3 ก้าว ก็ใช้ได้ไม่เหนื่อยมาก แต่หลังๆต้องมาใช้การสไลด์ไปข้างหน้า เพราะเข้าถึงลูกได้เร็วกว่า แต่กำลังขาต้องดีครับ รับลูกหน้าเนตก็ยื่นไม้สูงๆไว้ เขาบอกว่าถ้าตีต่ำกว่าเน็ตโอกาสไม่ข้ามมีมาก ให้สูงเหนือเน็ตข้ามแน่นอน สำคัญตรงที่ขาของเรา หมายถึงขาข้างที่ถนัดนะครับจะอยู่ข้างหน้าเสมอ ถ้าใครทำแล้วอยู่ข้างหลังให้แก้ไขให้ถูกต้องครับ 
 จากนั้นก็เป็นการรับลูกด้านข้างขาข้างที่ถนัดจะชี้ไปยังด้านข้าง ขนานกับเนตครับ ไม่งั้นถ้าวางเท้าไม่ขนานกันมีโอกาสพลิกได้ เพราะผมเคยเป็นมาแล้ว 555 และการก้าวเท้ายาวๆ เช่นกัน อย่ากระโดดก้าวเท้ายาวๆ เพราะเวลาลงเท้าก็อาจจะทำให้พลิกได้อีกเช่นกัน เพราะผมก็เป็นมาอีกแล้ว  ให้เพิ่มจังหวะนะครับ โดยการสไลด์ ฉับๆ จากนั้นก็ก้าวเท้าข้างที่ถนัดไปข้างหน้าแล้วก็ตีลูกครับ ถ้าจะนับจริงๆ การวิ่งคอร์ดจะมี 8 จุดครับคือหน้า 3 ข้าง 2 หลัง 3 ลองหัดวิ่งดูนะครับ 
 สูตรก็คือ หลังสไลด์ หน้าก้าว เวลาวิ่งไปด้านหลัง ขาขวา หรือขาข้างที่ถนัดจะอยู่ข้างหลังเสมอ อย่ากระโดดถอยหลังตี เวลาตีก็ก้าวไปข้างหน้าด้วยครับ ตีลูกตรงหน้า สูงๆ อย่าตีต่ำเพราะจะใช้แรงมากครับ สำหรับลูกด้านหน้าก็ให้ยกไม้สูงๆไว้ ขาขวาหรือขาข้างที่ถนัดจะอยู่ด้านหน้าครับ ด้านข้างสำคัญที่การวางเท้าต้องขนานกับเนตครับ เพราะถ้าพลาดเท้าพลิกนา........... 
ผมเคยดูวีดีโอการสอนของ อาจารย์เกาหลีและอาจารย์ไทย รู้สึกว่าไทยเราจะสอนตามหลักสูตรแต่ถ้าเป็นต่างประเทศจะสอนตามหลักเขาคือ เขามีตีที่คิดว่าเหมาะมากกว่าก็ เออ.....นะ ใช้ได้เหมือนกันดูไม่เบื่อ และพวกนี้เข้าถึงลูกเร็วมาก จากจุดกลางเขาจะก้าวฉับๆ สองทีถึงลูก ไม่ว่าลูกหน้าหรือลูกหลัง 2 ก้าวจริงๆนะ แถมยังกลับมาตั้งหลักที่กลางคอร์ดทันเฉยเลย ตอนนั้นผมยังหัดวิ่งคอร์ดและสโตรกลูกไปเรื่อย เห็นเขาทำง่ายๆผมก็ทำมั่งแต่เป็นการใช้ท่อนแขนตี ไม่ได้ใช้ไหล่แล้ว ตีลูกก็ต่ำ
เล่นแต่ละครั้งยังกะอาบน้ำเลยเปียกไปหมดทั้งเสือและกางเกงนอกเกงใน ผมเป็นคนเหงื่อเยอะมาก แต่สามารถตีได้เรื่อยๆ ไม่ค่อยเหนื่อยจนเขาทัก ไม่เหนื่อยเหรอผมก็ตอบไม่รู้มันหายแล้ว แหะ แหะ คืออย่างนี้ ผมเคยฝึกสมาธิมาก่อนและการควบคุมลมปราณ........นี่ ฮี่ ฮี่ หมายถึงการควบคุมการหายใจนะครับ ผมจะหายใจช้าๆ ไม่เร่ง ไม่หอบ แบบหายใจยาวๆ แล้วกลั้นไว้นานๆ แล้วหายใจออก  หายใจไปแบบช้าๆ หายใจทางปากตรงนี้ละสำคัญ ใครหายใจทางปากจะเหนื่อยเร็ว คอจะแห้ง ผมจะหายใจทางจมูกช้าๆ ก็มีทางปากบ้าง แต่ก็ไม่หายใจเร็วๆ หายใจช้าๆตลอดทั้งเกม ทำให้ผมเล่นได้ตลอด อึด ทน !! 

-------------------------
วิ่งคอร์ด 8 จุด


วิดีโอ การวิ่งคอร์ด
----





Thursday, August 3, 2023

หลินตัน โชว์ลูกเล่น แบดมินตัน Lin Don


หลินตัน Lin Don
สุดยอดแบดมินตัน
ลูกเล่น  ขั้นเทพ


---------------

Tuesday, August 1, 2023

ความเรื่อง spec ไม้แบดมินตัน Racket

น้ำหนักของไม้แบด และ บาลานซ์
แต่ไม้ที่ น้ำหนักรวมเบากว่าก็อาจจะรู้สึกว่าหัวไม้หนักกว่าได้ เนื่องจากการถ่วงน้ำหนักของไม้ว่าถ่วงไปด้านใด บางรุ่นก็ถ่วงหัว บางรุ่นก็ถ่วงด้าม บางรุ่นก็เฉลี่ยเท่าๆกันทั้งไม้ ดังนั้นนอกจากจะดูน้ำหนักรวมแล้วยังต้องดูการถ่วงน้ำหนักด้วย ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดก็คือลองเหวี่ยงตีดู
สำหรับคนชอบเล่นหน้า, เล่นทาง, และเน้นรับ ก็ควรที่จะเลือกไม้เบา เพื่อความรวดเร็วในการพลิกเปลี่ยนหน้าไม้
ส่วนคนชอบตบ ก็ต้องใช้ไม้ที่หัวหนักหน่อย ถึงจะตบได้มันส์และมีน้ำหนัก


Balance Point from Grip End

270-280mm = Head Light            (Defensive)  
275-285mm = Neutral                  (All Round) 
 285-295mm = Head Heavy           (Offensive) 
 295-305mm = Super Head Heavy  (Offensive)


ความอ่อนตัวของก้าน(Flexible)
โดย ส่วนตัวแล้วผมว่าความแตกต่างที่เห็นได้ชัดนอกจากน้ำหนักของไม้ก็คือลักษณะ ของก้านไม้แบด ลักษณะของก้านก็จะมีตั้งแต่ไม้ก้านอ่อน ไปจนถึงไม้ก้านแข็ง จุดเด่นของไม้ก้านอ่อนคือ ช่วยเรื่องเซฟแรง เวลาตีไม่ต้องออกแรงมากเหมาะสำหรับผู้เพิ่งเริ่มต้นเล่นแบดแต่ข้อเสียของไม้ ก้านอ่อนคือ การคอนโทรลทำได้ยากเนื่องจากหน้าไม้แกว่งทำให้เวลาเราตีลูกวางเซฟ หรือลูกตัดก็จะไม่แม่น ต่อมาจุดเด่นของไม้ก้านแข็ง ข้อดีคือเรื่องการคอนโทรลลูกเวลาวางลูกจะแม่นกว่าไม้ก้านอ่อน แต่ข้อเสียของไม้ก้านแข็งคือ เวลาต้องออกแรงเยอะ แล้วแรงสะเทือนของไม้เวลากระทบลูกจะส่งมาขึ้นข้อมือเราได้ทำให้เวลาใช้ไม้ ก้านแข็งจะเมื่อยข้อมือ เมื่อยแขนได้ง่าย
ความตึงเอ็นและการเลือกเอ็น
โดยจะแบ่งเป็นแนวตั้ง(main) กับแนวนอน(cross) ซึ่งจะไม่เท่ากัน แนวตั้งจะรับได้น้อยกว่าแนวนอน
ไม้ที่เบากว่ามักจะรับความตึงได้น้อยกว่าเนื่องจากความบอบบางของเฟรมนั่นเอง สำหรับผู้เล่นทั่วไปนั้นก็จะขึ้นเอ็นกันที่ 20-21 ปอนด์ ไม้ที่รับได้ 21 ปอนด์ก็เพียงพอ แต่ผู้เล่นที่ฝีมือดีหน่อยก็มักจะชอบเอ็นตึงๆ ขึ้นกัน 22-24 ปอนด์ บางคนขึ้นถึง 28 ปอนด์เลยก็มี
อันนี้ก็ต้องดูจาก spec ที่เขียนไว้ที่โคนไม้ จะบอกไว้ทั้ง 2 แนว
สำหรับเอ็นที่มากับไม้นั้นขอบอกว่าหย่อนมาก สำหรับผู้เล่นระดับเริ่มต้นก็พอตีไปก่อนได้ แต่อย่าหวังว่ามันจะขาดแล้วค่อยเปลี่ยนนะครับ มันไม่ขาดง่ายๆ
ส่วนการเลือกเอ็นก็อยู่ที่ขนาดของเส้นเอ็นยิ่งเส้นเล็ก(เช่น BG66 Nanogy98 BG68Ti) ก็จะยิ่งเด้ง แต่ข้อเสียก็จะขาดง่าย แล้วก็คอนโทรลลูกได้ยากกว่าเส้นใหญ่ ข้อดีของเส้นใหญ่(เช่น BG65 BG65Ti)คือจะคอนโทรลลูกได้ง่ายกว่า ขาดยากกว่าแต่ข้อเสียคือ ไม่ค่อ่ยเด้งต้องออกแรงเยอะ

-------------------------
Thank  badbad minton


1. น้ำหนักรวมของไม้แบดมินตัน
ซึ่ง ปกติแล้วที่ไม้แบดมินตันจะมีการบอกน้ำหนักรวมของไม้ไว้ ซึ่ง จะแสดงเป็นตัวอักษร U ซึ่งจะมีด้วยกันหลายตัว เช่น 2U, 3U, 4U เป็นต้น (4U = 80-84.9g, 3U =  85-89.9g, 2U = 90-94.9g) แต่น้ำหนักรวมของไม้ ไม่ได้บอกว่าน้ำหนักของไม้จะเทไปทางไป (ทางหัวกับทางก้านไม้) ซึ่งการถ่วงน้ำหนักจะมีผลกับการตีเช่นกัน 
2. การถ่วงน้ำหนักของไม้แบดมินตัน
 อย่างที่บอกในข้อแรก ลักษณะไม้จะมีการถ่วงน้ำหนัก หลักๆ คือ ทางหัวไม้ กับทางก้าน ซึ่ง หัวไม้หนัก(น้ำหนักเทไปทางหัวไม้)จะเน้นไปทางเกมรุก  ส่วนหัวไม้เบา(นำหนักเทไปทางก้าน) จะเน้นไปทางเกมรับ ซะมากกว่า
3. ขนาดของด้ามไม้แบดมินตัน
  จะมีชื่อเรียกเป็น G ซึ่งในแต่ละยี่ห้อจะมีมาตรฐานแตกต่างกันออกไป บางยี่ห้อเลขมากด้ามจะใหญ่ บางยี่ห้อ เลขน้อยด้ามจะใหญ่ (G2 G3 G4 G5) เราก็เลือกขนาดของด้ามจับให้เหมาะกับขนาดของมือเรา
4. ความตึงของเอ็นสูงสุดที่ไม้แบดมินตันรับได้
จะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ แนวตั้ง กับแนวนอน ซึ่งในแนวตั้งจะรองรับการดึงของเอ็น ได้น้อยกว่าแนวตั้ง ซึ่งความตึงสูงสุดที่ไม้แบดมินตันรับได้ จะมีบอกไว้ที่บริเวณโคนไม้แบดมินตัน
5. รูปทรงของไม้ และความยาวของก้านไม้แบดมินตัน
 ที่นิยมกันก็จะมีอยู่สองแบบ คือ แบบหัวไข่ กับแบบหน้าตัด (ไม่รู้เรียกถูกรึเปล่า) โดยที่ ไม้แบบที่เป็นหน้าตัดจะออกมาที่หลังไม้แบบหัวไข่ (ไม้แบบหน้าตัดจะช่วยเพิ่ม sweet spot ให้มากขึ้น) ส่วนความยาวของไม้จะยาว-สั้น ห่างกันไม่เกิน 1 เซ็นติเมตร โดยประมาณ ซึ่งก็แล้วแต่ความถนัดของคนอีกเช่นกัน
6. ความแข็งของก้านไม้
จะแบ่งออกเป็น แข็งมาก แข็ง ปานกลาง อ่อน อ่อนมาก ซึ่งก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละบุคคล (ส่วนมากจะบอกว่า ก้านแข็งจะหนักไปทางการเล่นเกมรุก ส่วนก้านอ่อนจะหนักไปทางเกมรับ...เหมือนเป็นทฤษฎีแฮะ -_-*)
7. เทคโนโลยีของไม้แบดมินตัน เป็นส่วนประกอบเสริม (ตามความคิดของผม แทบจะไม่มีความสำคัญ) ที่ทำให้ไม้แบดราคาแพงขึ้นมาได้อย่างน่าเหลือเชื่อ - -* เช่น ถ้าไม่ใส่ไอ้ตัวนี้ลงไปราคา 2,000 แต่ถ้าใส่เทคโนโลยีตัวนี้ไป ราคา 4,500 เป็นต้น - -* แต่คนส่วนมากก็จะยึดติด พวกนี้แฮะ



----------------------------------------------