Monday, August 27, 2012

กลยุทธหลักที่มักใช้ในการแข่งขันประเภทคู่


กลยุทธหลักที่มักใช้ในการแข่งขันประเภทคู่


1. โจมตีเฉพาะบุคคล

กลยุทธนี้ถือว่าค่อนข้างเป็นที่นิยม หลักการก็คือการเลือกโจมตีใส่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นพิเศษ กลยุทธนี้จะได้ผลดีถ้าคู่แข่งขันมีนักกีฬาที่ฝีมือไม่เท่าเทียมกัน เราจะใช้กลยุทธนี้กับทีมคู่แข่งที่มีผู้เล่นฝีมือพอ ๆ กันก็ได้ เมื่อเราเลือกโจมตีใส่คนไหนเป็นพิเศษ นักแบดในทีมคู่แข่งอีกคนมักจะพยายามเข้ามาช่วยเสมอ นั่นจะทำให้เกิดช่องว่างในแดนคู่แข่งให้เราโจมตีได้

2. โจมตีตรงกลาง

(1) ในขณะที่คู่แข่งอีกฝั่งยืนกันซ้าย-ขวาคนละข้าง กลยุทธนี้จะทำให้คู่แข่งต้องแย่งกันตีจนอาจทำให้ตีพลาด หรืออาจเกิดการลังเลกันเองว่าใครควรจะตีลูก การใช้กลยุทธนี้ยังทำให้เราป้องกันหน้าเน็ตได้ดีขึ้นอีกด้วย เมื่อเราเลือกโจมตีใส่ตรงกลาง บ่อยครั้งที่คู่แข่งขันมักงัดลูกไม่ถึงหลัง คู่ของเราที่ดักหน้าเน็ตอยู่ก็สามารถฉวยโอกาสโจมตีใส่ได้ทันที

(2) ในขณะที่คู่แข่งยืนในลักษณะหน้า-หลัง กลยุทธนี้จะเปลี่ยนจากการตีใส่ตรงเส้นแบ่งครึ่งคอร์ทมาเป็นการตีใส่จุดกลาง คอร์ทริมเส้นข้างแทน กลยุทธนี้มักใช้เวลาที่เราต้องรับลูกเสริฟสั้นจากคู่แข่ง เมื่อเราตีลูกกลับไปโดยเล็งไปที่บริเวณกลางคอร์ทริมเส้นข้าง คู่แข่งคนที่อยู่หน้าเน็ตจะไม่สามารถตีลูกถึงได้เพราะลูกจะข้ามตัวไป ส่วนคู่แข่งอีกคนที่คอยคุมหลังก็ทำได้แค่งัดลูกให้โด่งกลับมาหรือแปะลูกหยอด ใส่หน้าเน็ต ในช่วงนี้จะทำให้พื้นที่ด้านหลังคอร์ทฝั่งคู่แข่งมีช่องว่างให้เราเลือกโจม ตีได้

3. โจมตีใส่แดนหลัง

กลยุทธนี้มักจะใช้เวลาที่ เราต้องแข่งกับคู่แข่งที่ตบลูกจากแดนหลังไม่ค่อยดี เราสามารถตีโด่งหรือดาดลูกไปแดนหลังเพื่อบังคับให้คู่แข่งที่อ่อนลูกตบต้อง ถอยไปรับลูก เมื่อคู่แข่งตีลูกกลับมาก็มักจะตีไม่ถึงแดนหลังของฝั่งเรา เราจึงสามารถฉวยโอกาสนี้ตบกลับทำแต้มได้อย่างสบาย ๆ หรือถ้าเพื่อนร่วมทีมอีกคนของฝั่งคู่แข่งถอยหลังไปช่วย เราก็สามารถหยอดลูกใส่หน้าเน็ตเพื่อทำแต้มได้เช่นกัน

4. โจมตีจากแดนหลังและคุมหน้าเน็ต

กล ยุทธนี้มักจะใช้ในการแข่งคู่ผสมเป็นส่วนใหญ่ นักแบดชายที่ตบแรงกว่าจะคอยตบจู่โจมจากแดนหลัง ส่วนนักแบดหญิงที่มีความคล่องตัวสูงจะคอยอยู่หน้าเน็ตเพื่อดักตบ,ดาด หรือตัดหยอดเพื่อสร้างโอกาสโจมตีให้กับนักแบดชายในแดนหลัง

5. ป้องกัน

(1) การวิ่งสลับตำแหน่ง

ก่อนที่เรา จะมีโอกาสบุกโจมตีนั้น เราต้องยอมอดทนตีโต้ป้องกันไปก่อน การจะโต้ลูกกับคู่ต่อสู้ได้ดีนั้น เรากับคู่ของเราต้องเข้าใจการวิ่งเปลี่ยนตำแหน่ง อย่างเช่นเวลาที่เราต้องถอยจากแดนหน้าลงมากลางคอร์ท เราต้องถอยกลับมาเป็นเส้นตรง ถ้าเราถอยกลับแทยงไปอีกทางจะทำให้เสียเวลาเพิ่มขึ้นเพราะทางจะยาวกว่า กว่าจะถอยถึงที่ก็โดนคู่ต่อสู้ตบใส่ก่อนพอดี คู่ของเราที่เห็นเราถอยลงมาก็จะต้องรีบเข้าตำแหน่งกลางคอร์ทในอีกด้านเช่น กัน

การสลับตำแหน่งในการตั้งรับจะเป็นรูปแบบที่นักแบดคนหนึ่งเข้าตี ลูก ส่วนนักแบดอีกคนจะคอยดูการเคลื่อนที่ของนักแบดที่ตีลูก จากนั้นก็จะวิ่งเข้าไปอุดช่องโหว่ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อนักแบดคนหนึ่งฉวยโอกาสขึ้นหน้าไปตีลูก นักแบดอีกคนจะต้องถอยมาคอยคุมหลังทันที

(2) ทิศทางของลูกในการตีเพื่อตั้งรับ

- ถ้าฝ่ายโจมตียืนลักษณะหน้า-หลัง และยืนอยู่ด้านข้างใดข้างหนึ่งของคอร์ท ฝ่ายตั้งรับจะต้องตีลูกกลับไปอีกด้านที่ไม่มีคนดักอยู่
- ถ้าฝ่ายโจมตียืนลักษณะหน้า-หลัง และทั้งสองคนยืนกันคนละข้างของคอร์ท ฝ่ายตั้งรับสามารถเลือกตีใส่บริเวณหน้าเน็ตของฝ่ายโจมตีที่ยืนอยู่หลังคอร์ท หรือไม่ก็ตีลูกโด่งไปทางแดนหลังของฝ่ายโจมตีที่ยืนอยู่หน้าเน็ต
- ถ้าฝ่ายโจมตีถอยหลังไปคอยตบอยู่แดนหลังทั้งสองคน ฝ่ายตั้งรับสามารถเลือกที่จะหยอดหรือดาดให้ลงหน้าเน็ตได้
- ถ้าฝ่ายโจมตีที่คอยตบหรือหยอดจากแดนหลัง ฝ่ายตั้งรับควรจะงัดลูกให้พุ่งไปอีกมุมหนึ่งเพื่อที่จะให้ฝ่ายโจมตีที่อยู่ แดนหลังต้องวิ่งหาลูก

วิธีการตั้งรับมีมากมายหลายวิธี แต่ทุก ๆ วิธีก็มีจุดประสงค์เดียวกัน คือการทำลายจังหวะการบุกของอีกฝ่ายให้ได้ เมื่อใดที่ฝ่ายบุกเกิดการสับสนในตำแหน่ง ฝ่ายที่ตั้งรับก็สามารถฉวยโอกาสเปลี่ยนจากรับเป็นรุกได้ทันที




---------------------------
Thank  bloggang

No comments:

Post a Comment