1. การจับไม้ ( V shape)
2.การตีลูก โฟร์แฮนด์
ตำแหน่งที่หน้าไม้กระทบลูก จะต้องอยู่ด้านหน้าของผู้ตี
ประกอบไปด้วยความสำพันธ์ 3 ส่วน
1. แรงที่เกิดจาการถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหลัง ไปสู่เท้าหน้า
2. แรงที่เกิดจากการเหวี่ยงของลำแขน
3. แรงที่เกิดจากการตวัดและสบัดอย่างแรงของข้อมือ (สำคัญมาก)ในจังหวะกระทบลูก
สังเกตุการเหยียดแขนตึง และ จุดกระทบลูก
3. การตีลูกหลังมือ ( Backhand)
การตีลูกหลังมือ
จะมีแรงตีลูกที่มาจาก 2 แหล่งแรกเท่านั้น
โดยไม่มีแรงโถมจากตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนน้ำหนักตัวที่ถ่วงจากเท้าหลังไป
สู่เท้าหน้าเป็นแรงเสริม เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้เล่นจะต้องใช้แรงตีลูกทั้ง 2
ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุดเท่าที่จะกระทำได้
(การจับไม้แบบ วีเชฟ จะทำให้สามารถขยับหัวแม่มือ เข้ามาช่วยในการส่งแรงในการคตีลูกหลังมือได้ดี)
ลูก
หลังมือ หรือแบ๊คแฮนด์ เป็นลูกที่จัดอยู่ในประเภทของการรับ (Defensive)
ผู้เล่นหลาย ๆ คนอาจจะเลือกใช้ลูกคร่อมเหนือศีรษะ หรือ
โอเวอร์เฮ็ด(Overhead)แทน เป็นลูกที่จัดอยู่ในประเภทรุก(Offensive)
แต่การตีลูกคร่อมศีรษะนั้นกินแรงมากกว่าตีลูกหลังมือ
แรงตีเกิดจาการประสานแรงเหวี่ยง แรงสบัดของลำแขน แรงตวัดของข้อมือ บวกกับจัวหวะการถ่ายน้ำหนักจากเท้าหลังไปสู่เท้าหน้าและการฟุตเวิร์คที่ถูกต้อง สอดคล้องเป็นจังหวะเดียวกัน
5. ลูกตบ
ความเร็วกับความรุนแรงของลูกตบไม่ได้เกิดจากการใช้แรงตีอย่างหักโหม แต่ความเร็วและความแรงของลูกตบท่ี่หนักหน่วงเกิดมาจากจังหวะการประสานงานอย่างกลมกลืน ของการฟุตเวิร์ค การเหวี่ยงแขน การตวัดของข้อมือ เสริมด้วยการถ่ายน้ำหนักตัวจากเท้าหลังสู่เท้าหน้า
6. ลูกดาด
คือลูกดาดที่พุ่งข้ามตาข่าย มีวิถีขนานไปกับพื้นสนาม ผู้เล่นตีลูกไนระดับอกได้ทั้งหน้ามือและหลังมือ ใช้ในการเล่นเกมลุกเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามได้โอกาสเล่นลูกตบได้ (และสามารถใช้ในเวลาตอบโต้ลูกตบได้เป็นอย่างดี)
7. จังหวะการฟุตเวิร์ค
ในการเล่นแบดมินตัน มีการเคลื่อนย้ายตัวมากดังนั้นการฟุตเวิร์คจึงมีความสำคัญที่สุดในการเล่นแบดมินตัน ดังนั้นผู้เล่นจึงต้องรู้จักการเคลื่อนตัว การวิ่งเข้าออก (การวิ่งคอร์ด)
ถึงแม้การวิ่งคอร์ด จะสำคัญแต่ในเวลาเล่นแบดมินตัน ต้องไม่ลืมพื้นฐานของการตีลูกในแต่ละลูก และจะต้องทำให้สอดตล้องกันการวิ่งคอร์ด จึงจะสามารถทำได้ดีเป็นธรรมชาติในเวลาอยู้ในสนาม
----------------------------------
เล่นแบดมินตัน เป็นกีฬา ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ